วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563


ทำอาหารด้วยใบหม่อนเสริมรสอูมามิ

...อาหารจะอร่อยขึ้นเมื่อใส่ยอดใบหม่อน...

              หลายคนคงสงสัยว่าเจ้าหม่อนที่นอกจากใบจะเอาไปเป็นอาหารของตัวไหมแล้ว ส่วนผลก็เอาผลไปทำแยม เรายังจะเอาหม่อนไปทำอะไรได้อีก 

              คราวนี้เรามาเฉลยเคล็ดลับความอูมามิที่ไร้สารเคมีกัน เพียงคุณใส่ใบหม่อนลงไปต้มน้ำซุปว่ากันว่าทำให้น้ำซุปกลมกล่อมขึ้นโดยไม่ต้องใส่ผงชูรสเลยก็ว่าได้ ใบหม่อนที่เรารู้จักกันว่าเป็นอาหารเลี้ยงตัวไหมนี่น่ะหรือคือของดีที่จะช่วยเสริมรสชาติอาหารให้อร่อย เพื่อนๆ อาจจะยังสงสัย แต่สำหรับภาคเหนือและภาคอีสานอาจจะคุ้นเคยกันมากกว่า เพราะการใส่ใบหม่อนลงในอาหารถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นแทนการใส่ผงชูรส แถมยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย


                                                           ยอดหม่อนต้มแซ่บ


             ใบหม่อนเมื่อน้ำมาต้มน้ำจะได้รสชาติอมหวานเล็กน้อย ถ้ากินใบสดรสจะออกหวานอมขม สามารถดื่มเป็นชาก็ได้ หรือจะนำใบหม่อนมาใส่ในอาหารชนิดต้ม อย่างต้มจืดหรือต้มยำ เพื่อให้อาหารมีรสชาติอร่อยมากขึ้นได้ โดยเฉพาะกับแกงหรือต้มที่ใส่เนื้อสัตว์และอาหารทะเล  ชาวอีสานรู้จัการนำยอดใบหม่อนมาทำอาหารนานมากแล้ว อาหารที่นิยมใส่ใบหม่อน ได้แก่ ต้มยำเป็ด, ต้มยำไก่, แกงไก่ใบหม่อน ฯลฯ ถ้าหากไม่นำใบหม่อนไปต้มก็ยังสามารถนำไปชุบแป้งทอดหรือไข่เจียวใส่ใบหม่อนก็ได้เช่นกัน

                                                                         ชาใบหม่อน
                อีกหนึ่งเมนูใบหม่อนที่เป็นที่นิยมนั่นคือ ชาใบหม่อน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ แก้อาการไอ ลดไข้ แก้กระหาย แก้เจ็บคอ ลดอาการปวดศีรษะ ตาลาย ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันโรคเบาหวาน และป้องกันความดันโลหิตสูง  อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต โดยมีนักโภชนาการรวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ทำการทดลองจนค้นพบคุณค่าของใบหม่อนมานานแล้ว ทำให้ชาวญี่ปุ่นนิยมนำใบหม่อนมาประกอบอาหาร รวมทั้งผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของใบหม่อนออกมาจำหน่าย เช่น เส้นบะหมี่ใบหม่อน, อุด้งใบหม่อน, คุกกี้ใบหม่อน, ไอศกรีมใบหม่อน เป็นต้น
เมี่ยงใบหม่อน

เค้กลูกหม่อน
ชีสเค้กลูกหม่อน

 ประโยชน์ของหม่อน (Mulberry)              
       หม่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus sp. ชื่อภาษาอังกฤษคือ White  Mulberry, Mulberry  Tree และมีชื่อภาษาท้องถิ่นได้แก่ หม่อน, มอน (อีสาน),  ซึมเฮียะ (จีน) อยู่ในวงศ์ Moraceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหม่อน เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวออกสลับสีเขียวเข้มรูปหัวใจขอบจักฟันเลื่อย ผิวสาก สีเขียวเข้ม เส้นใบตามยาว 3 เส้น ดอกเล็ก ๆ กลม  เป็นช่อแท่งกลมเล็ก ๆ ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกกัน ดอกย่อยมี 4 กลีบ ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่งยาวราว 1 นิ้ว  ผลเป็นผลรวมออกเป็นพวงวงกลมเล็กเมื่อสุกมีสีม่วงแดงถึงดำผลกลมเล็ก ๆ เมื่อสุกสีน้ำตาลดำเป็นพวง และยังเป็นพืชอาหารตามธรรมชาติของหนอนไหม
9114 1
ภาพที่ หม่อน (Mulberry)
ที่มา วรางรัตน์  เสนาสิงห์
         การขยายพันธุ์หม่อน นิยมใช้วิธีการปักชำกิ่งมากที่สุด เพราะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถให้ต้นหม่อน และใบหม่อนที่สมบูรณ์เต็มที่ได้ กิ่งพันธุ์หม่อนที่ใช้ในการปักชำ ควรเป็นกิ่งแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป จนถึง 2 ปี ไม่ควรใช้กิ่งที่มีอายุมากเกินกว่า 2 ปี ลักษณะกิ่งออกสีเขียวปนเทา สีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา โดยการตัดกิ่งควรตัดความยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร โดยให้มีตายอดหรือตาใบติดประมาณ 2 - 3 ตา และควรตัดกิ่งทั้งสองด้านเป็นรูปปากฉลาม การปักชำจะใช้วิธีการปักทั่วไป โดยการเสียบกิ่งลงดินลึกประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร โดยให้ตายอดตั้งขึ้นในแนวเอียงประมาณ 40 - 50 องศา ระยะการปักชำในแปลงประมาณ 1.5 - 2 เมตร หลังจากการปักชำอาจรดน้ำหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ การปักชำที่ให้ได้ผลดีควรปักชำในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพราะกิ่งจะอาศัยน้ำฝนเติบโตได้เอง โรค และแมลงสำคัญของหม่อนได้แก่ โรคของหม่อน ได้แก่ โรครากเน่า โรคใบด่าง เป็นต้น แมลงศัตรูที่สำคัญ แมลงประเภทปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยชนิดต่างๆ ไรแดง เป็นต้น ซึ่งแมลงเหล่านี้ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้น ใบ และยอดอ่อนทำให้หม่อนหยุดการเจริญเติบโต หรือเติบโตช้า จนถึงใบหงิกงอ แห้งตาย และแมลงศัตรูประเภทปากกัด เช่น แมลงค่อมทอง ด้วงเจาะลาต้น ปลวก เป็นต้น เป็นแมลงที่ชอบกัดกินลำต้น ใบ และใบอ่อน ทำให้ต้นหรือกิ่งหม่อนแห้งตาย
9114 2
ภาพที่ ใบ และผลอ่อนของหม่อน
ที่มา วรางรัตน์  เสนาสิงห์
ประโยชน์หม่อน
  1. ใบสดเมื่อนำใบมาเคี้ยวสด ๆ จะมีรสหวานอมขมเย็นเล็กน้อย บางท้องถิ่นนำมากินสด
  2. ปัจจุบันนิยมนำใบมาตากแห้ง และชงดื่มเป็นน้ำชาใบหม่อน ซึ่งจะให้กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ และรสชาติเหมือนชา แต่อมหวานเล็กน้อย
  3. บางท้องถิ่น เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ นิยมใบมาปรุงอาหารในเมนูจำพวกต้มต่าง ซึ่งจะเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น
  4. ในส่วนของผลสุก สามารถกินเป็นผลไม้หรือเป็นอาหารนกได้
  5. ในบางพื้นที่ที่มีการปลูกหม่อนมากจะนำผลหม่อนมาหมักเป็นไวน์จำหน่าย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสถาน Otop ต่างๆ ลักษณะไวจากผลหม่อนจะเป็นสีม่วงอมแดง หรือนำผลสุกมารับประทานสดซึ่งจะให้รสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย หรือจำหน่ายผลหม่อนสุกกินสด
วิธีการนำไปใช้ประโยชน์
  1. การเลือกใบหม่อนเพื่อทำยา ควรเลือกใบเขียวสด ดูอวบทั่วทั้งใบ และไม่มีรอยกัดกินของแมลง
  2. การนำใบหม่อนมาทำยาสามารถทำด้วยวิธีการตากแห้งใบ แล้วบดอัดใส่แคปซูลรับประทานหรือการนำใบแห้งมาต้มดื่มเป็นชาใบหม่อน
  3. ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่อง และในปริมาณที่มากๆ เพราะอาจได้รับสารแทนนินที่มีผลต่อระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดท้องอืด อาหารไม่ย่อยได้
  4. หากพบมีอาการแพ้หรือมีผลผิดปกติในร่างกาย ให้หยุดการใช้ทันที
สรรพคุณหม่อน
        ผลหม่อน เป็นผลหม่อนมีลักษณะสีแดง สีม่วงแดง และสุกจัดจะออกสีม่วงดำหรือสีดำ พบสารในกลุ่ม anthocyanin ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอาการขาดเลือดในสมอง ต่อต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นยังพบวิตามินซี ในปริมาณสูง ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันอีกด้วย
        ใบหม่อน (ต้มน้ำหรือใบแห้งชงเป็นชาดื่ม) ช่วยในการผ่อนคลาย, แก้ร้อนใน กระหายน้ำ, ช่วยลดไข้หวัด และอาการปวดหัว, ช่วยแก้อาการวิงเวียนศรีษะ, แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้คอแห้ง, ต้านอนุมูลอิสระ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์, ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และช่วยทุเลาอาการจากโรคเบาหวาน, ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด, ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด, ช่วยลดความดันเลือด และต้านแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการท้องเสีย
        ส่วนของกิ่ง ลำต้น พบสารหลายชนิดที่กล่าวในข้างต้น ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ต่อต้านการสร้างเมลานินที่เป็นสารสร้างเม็ดสี จึงมีการสกัดสารดังกล่าวมาใช้ในเครื่องสำอางเพื่อความสวยความงามทำให้ผิวขาวนวล ผลจากฤทธิ์ทางยาอย่างอื่นมีการศึกษาพบช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ ลดอาการมือเท้าเป็นตะคริว
แหล่งที่มา
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. หม่อน (Mulberry: Morus alba Linn.).  สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จากhttp://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=7&chap=3&page=t7-3-infodetail02.html
สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม. mulberry.  สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จาก https://www.qsds.go.th/osrd_new/inside_page.php?pageid=4
เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย. หม่อน/ใบหม่อน (mulberry) ประโยชน์ และสรรพคุณหม่อน.  สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จาก http://puechkaset.com/หม่อน/

ทำอาหารด้วยใบหม่อนเสริมรสอูมามิ ...อาหารจะอร่อยขึ้นเมื่อใส่ยอดใบหม่อน...               หลายคนคงสงสัยว่าเจ้าหม่อนที่นอกจากใบจะเอาไปเ...